เหตุใดเทรนด์การลงทุนใช้ API ในประเทศไทยจึงเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะไม่มีความแน่นอนทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นก็ตาม?
เหตุผลก็เพราะผู้นำด้านไอทีและธุรกิจกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ให้ได้
เมื่อบริษัทในไทยหรือบริษัทข้ามชาติต่างๆ จำเป็นต้องปรับรูปแบบกระบวนการ เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ และเปลี่ยนระบบไอทีของตน API-based architecture จึงเกิดขึ้นมาเพื่อจัดการกับความไม่แน่นอน เช่น ในช่วงที่เกิดโรคระบาด Covid-19 บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ ต้องเปลี่ยนไปใช้อีคอมเมิร์ซ การรับส่งของแบบไร้สัมผัส Digital bank หรือบริการรัฐบาลรูปแบบดิจิทัล เพื่อตอบสนองความของลูกค้าและประชาชน
ข้อได้เปรียบของสถาปัตยกรรมไอทีที่ใช้ API
บริษัทที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วจะเป็นผู้ได้เปรียบเพราะ มีระบบไอทีที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก IT Architecture แบบ API สร้างขึ้นจากหลักการของโมดูลาร์ ข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญถูกบรรจุลงใน Digital building blocks ที่สามารถใช้ซ้ำได้ หรือที่รู้จักในชื่อ API building blocks ซึ่งสามารถนำมาจัดเรียงเป็นกระบวนการใหม่ที่จำเป็นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยการจัดเรียงใหม่และเชื่อมต่อเพื่อเข้า API สำเร็จรูปอีกครั้ง
บริษัทที่ลงทุนในสถาปัตยกรรมไอทีที่ใช้ API จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและจะมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน ไม่เพียงแต่คุณจะต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเท่านั้น บริษัทที่มีความสามารถในการปรับตัวด้านระบบไอที หรือปรับกระบวนการด้านไอทีให้สามารถเอื้อต่อธุรกิจได้ จะมีความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ดังนั้น API-based architecture จึงช่วยให้ระบบไอทีมีความยืดหยุ่นและทำให้บริษัทสามารถทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นได้
MANAGE APIS WITH CONFIDENCE
ในบทความถัดไปเราจะมาแนะนำการจัดการ API และ microservices โดยเริ่มตั้งแต่แอปพลิเคชันมือถือใหม่ๆ ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซ และกระบวนการทางธุรกิจอื่นๆ โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ
เขียนโดย : Kanitha
วันที่เผยแพร่ : 16 มี.ค. 2566