ในปัจจุบันหลายคนอาจคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการทำธุรกิจนั้นคือความล้ำสมัย หรือจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไว้ก่อนถึงจะดี แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจเท่านั้น เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automation, AI หรือแม้แต่ IoT สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องอาศัยตัวประสานทั้งสิ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม System Integration จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในธุรกิจยุคปัจจุบัน
ธุรกิจที่มีการใช้งานระบบสารสนเทศที่มีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายแพลตฟอร์ม จำเป็นที่จะต้องมี System Integration เพื่อเข้าไปประสานรวมระบบให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเข้าไปอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของระบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยการทำ System Integration จะช่วยใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. ประสิทธิภาพการทำงาน : การวางแผนจัดทำกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างมีระบบ ช่วยลดความผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุดไปจนถึงไม่มีความผิดพลาดเลย
2. ต้นทุนการจัดการ : การนำเอาระบบ Automation เข้ามาใช้เพื่อควบคุมขั้นตอนการทำงานโดยให้คนเป็นผู้ดูแลระบบแทนการปฏิบัติงาน จะช่วยทำให้ลดการเสี่ยงและความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
3. เวลา : การวางระบบที่มีคุณภาพจะช่วยทำให้แผนผังการผลิตในโรงงานสามารถดำเนินไปได้อย่างเต็มที่ มีความลื่นไหลและยืดหยุ่น ส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนของการทำ System Integration
การทำ System Integration โดยส่วนมากแล้วจะอ้างอิงตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากรูปแบบหรือโครงสร้างทางธุรกิจในแต่ละแบบมีความแตกต่าง ซึ่งการทำงานหลัก ๆ จะประกอบด้วย
1. การเก็บข้อมูล : ไม่ว่าจะเป็นการอัพเกรดระบบหรือการทำระบบใหม่ จะต้องมีความชัดเจนว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการคือระบบแบบไหนและเป็นอย่างไร
2. การออกแบบระบบ : จะใช้การอ้างอิงจากข้อมูลที่สอบถามและตรวจสอบกับลูกค้าในข้างต้น เพื่อให้ระบบทั้งหมดสอดประสานกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การตรวจสอบ : ตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันระหว่างลูกค้าและผู้จัดทำ เพื่อยืนยันความถูกต้องของดีไซน์และคอนเซปต์
4. การสร้าง : มีการทำระบบการทำงาน Automation จำลอง และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นมา เพื่อทดสอบการทำงานก่อนการนำไปติดตั้งจริงในภายหลัง หรืออาจเป็นการจำลองระบบเพื่อปรับใช้กับธุรกิจจริงก็ได้เช่นกัน
Magic xpi Integration Platform คืออะไร ทำงานอย่างไร และเพราะเหตุใดธุรกิจถึงจำเป็นต้องมี Magic xpi
การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนระบบสารสนเทศในองค์กรทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องการโซลูชั่นที่ง่ายและคุ้มค่าต่อการดำเนินการ บำรุงรักษา รวมไปถึงการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น Magic xpi จึงเป็นโซลูชั่นที่เหมาะสมในการเข้ามาเชื่อมรวมระบบและเป็นมิตรสำหรับองค์กร นอกจากนี้ การพัฒนาโซลูชั่นที่ไม่ต้องใช้การเขียนโปรแกรมที่ยุ่งยาก และมีหน้าจอเมนูต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้ชัดเจน จึงทำให้ Magic xpi สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและปราศจากปัญหา ช่วยดูแลขั้นตอนที่ยุ่งยากให้ทั้งหมดโดยการเพิ่มประสิทธิภาพเบื้องหลัง และสิ่งสำคัญคือการมุ่งเน้นการออกแบบกระบวนการที่ดีที่สุดและเพื่อรองรับเป้าหมายของธุรกิจ
วิธีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างไม่จำกัด
-
พลิกโฉมธุรกิจของคุณด้วยการคิดค้นวิธีการใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศต่าง ๆ ในองค์กร ทั้งระบบเดิมหรือระบบคลาวด์
-
เพิ่มความสามารถใช้งานโซลูชั่นเคลื่อนที่โดยการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบธุรกิจหลัก
-
เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามข้อกำหนด และปรับปรุงคุณภาพข้อมูลด้วยการซิงโครไนซ์ข้อมูลหลักและกระบวนการอัตโนมัติระหว่างแบ็กเอนด์ระบบต่างๆ
-
เพิ่มความสามารถให้เจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าด้วยมุมมอง 360 องศา โดยเชื่อมต่อ CRM, ERP, การจัดส่ง การสนับสนุนลูกค้า โซเชียลมีเดีย และอื่นๆ
-
ปรับปรุงกระบวนการอีคอมเมิร์ซของสินค้าคงคลังและการประมวลผลคำสั่งซื้อด้วยมุมมองเรียลไทม์
-
สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยโครงการ IoT โดยใช้อะแดปเตอร์ Magic xpi MQTT
คุณสมบัติที่สำคัญของ Magic xpi ที่คุณต้องการเพื่อการเติบโตของธุรกิจ
-
ใช้งานง่าย ไม่มีโค้ด โดยจะใช้การลากและวางเครื่องมือเพื่อเชื่อมต่อข้อมูลแทนการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน
-
การทำงานของกระบวนการโดยอัตโนมัติแบบกำหนดตารางเวลาที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเรียลไทม์ทริกเกอร์เหตุการณ์และการจัดการข้อผิดพลาดโดยอัตโนมัติ
-
เครื่องมือการตรวจสอบและการจัดการระบบที่ครอบคลุมช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการประสิทธิภาพระบบได้ตลอดเวลา
-
เครื่องมือในการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศต่าง ๆ ที่มีให้เลือกใช้มากกว่า 100 รายการอะแดปเตอร์ที่ผ่านการรับรองและปรับให้เหมาะสมสำหรับระบบไอทีชั้นนำและเครื่องมือสร้างตัวเชื่อมต่อสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง
-
In-Memory Data Grid (IMDG) สถาปัตยกรรมระดับองค์กรพร้อมระบบคลัสเตอร์ในตัว เฟลโอเวอร์ และการกู้คืนระบบอัตโนมัติ
-
การรักษาความปลอดภัยโดยการเข้ารหัสแบบ end-to-end ทั้งภายในและภายนอกไฟร์วอลล์
เขียนโดย : Pongsun
วันที่เผยแพร่ : 20 ส.ค. 2564