What is the Privileged ID?
Privileged ID คือ account หรือ ID ที่ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้สิทธิเฉพาะ ให้เข้าถึงข้อมูลและระบบ ซึ่งใช้สำหรับการบำรุงรักษาระบบ เช่น ผู้ดูแลระบบ Windows, Linux root หรือ user ของ AWS IAM
ID ที่ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบการเข้าถึงอย่างละเอียดและต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่องโหว่ อันเกิดจากการเป็นเป้าหมายของการคุกคามจากเหล่าอาชญากรทางไซเบอร์ภายนอกองค์กร หรืออีกกรณี หากบุคลากรที่มีสิทธิพิเศษในการใช้ ID หรือที่ได้รับสิทธิพิเศษมีเจตนาประสงค์ร้าย การป้องกันต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้การไม่ได้และเกิดเป็นภัยคุกคามจากภายใน
Privileged ID | General ID |
|
|
Purpose of Privileged ID Management
วัตถุประสงค์หลักๆ ของการจัดการ ID ที่มีสิทธิพิเศษ มีดังต่อไปนี้
- การรักษาความปลอดภัย (Security)
- การปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance)
- การลดต้นทุน (Cost reduction)
- การเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency)
Security | Compliance | Cost Reduction |
|
|
|
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนด องค์กรจะต้องควบคุมและมีวิธีจัดการขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการ ID ที่มีสิทธิพิเศษ มีการจัดระดับการดำเนินการดังนี้
- ระดับ 1: การจัดการรหัสพิเศษ (MANAGE)
ฟังก์ชันเครื่องมือที่จำเป็น: ID Management Tools
ID Management Tools จะมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นความชัดเจน และการบริหารจัดการว่าใครในองค์กรได้สิทธิพิเศษในการเข้าถึง โดยเครื่องมือนี้จะมีหน้าที่หลักๆ คือ create ID พิเศษ, list ID พิเศษ, เปลี่ยน password, match ID, list users, list สิทธิพิเศษ
- ระดับ 2: การอนุมัติใช้งานรหัสพิเศษ (GRANT)
ฟังก์ชันเครื่องมือที่จำเป็น: Workflow and Access Control
Workflow and Access Control เครื่องมือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานการอนุมัติชั่วคราว (temporary approval) และการให้สิทธิการเข้าถึงพิเศษ (privileged access) โดยเครื่องมือนี้จะมีหน้าที่หลักๆ คือ ให้สิทธิการเข้าถึงพิเศษ (grant ID) และยกเลิกสิทธิการเข้าถึงพิเศษ (revoke ID)
- ระดับ 3: ตรวจสอบการใช้รหัสพิเศษ (INSPECT)
ฟังก์ชันเครื่องมือที่จำเป็น: Access Log Management and Operation Log Management
Access Log Management and Operation Log Management เครื่องมือนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อการบันทึกการเข้าใช้งาน บันทึกการปฏิบัติงาน การตรวจสอบการใช้สิทธิพิเศษในการ access ระบบโดยเครื่องมือนี้จะมีหน้าที่หลักๆ คือ ตรวจสอบการเข้าถึงพิเศษ (inspect access) และตรวจสอบการดำเนินการที่ได้รับสิทธิพิเศษ (inspect operations)
Common Challenges of Privileged ID Management
โครงการดำเนินการด้านการจัดการสิทธิการเข้าถึงแบบพิเศษ หรือ Privileged ID Management โดยทั่วไปแล้วต้องใช้เวลาและความพยายามสูง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการหยุดชะงัก หรือความล่าช้าในการดำเนินงานตามปกติขององค์กร หรืออีกนัยคืออาจลดประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้จัดการและผู้บริหาร ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่างๆ ในประเทศไทย จึงเริ่มมองเห็นความจำเป็นในการมี Tools ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะทางเพื่อแก้ไขหรือลดปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Privileged ID Management โดยปัญหาหลักในการดำเนินการด้านการจัดการสิทธิการเข้าถึงแบบพิเศษ หรือ Privileged ID Management แยกได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านการจัดการ (management challenge)
- รายชื่อ ID สิทธิพิเศษหรือผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิพิเศษที่รายงานต่อผู้ดูแลระบบหรือผู้บริหารไม่ถูกต้องตรงกับการใช้งานจริง
- ผู้ดูแลระบบหรือผู้บริหารไม่ยึดหลักการหรือกฎเกณฑ์ว่า user คนไหน ควรหรือไม่ควรได้ใช้ ID สิทธิพิเศษ
- การเปลี่ยนรหัสผ่านหรือการ identity matching กับข้อมูลประจำตัว ไม่ได้ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ปัญหาด้านการอนุมัติให้ใช้รหัสพิเศษ (grant challenge)
- ผู้ดูแลระบบแบกรับภาระงานมากมาย เช่น การแจ้งเตือนรหัสผ่านเมื่อได้รับสิทธิการเข้าถึง การเปลี่ยนรหัสผ่านหลังการใช้งาน และการอนุมัตินอกเวลางาน หรือการอนุมัติในกรณีที่เกิดปัญหากะทันหัน
- ไม่สามารถระบุ user ที่แท้จริง หรือไม่สามารถจำกัดการ access ของ user ได้ เนื่องจากในกรณีที่มี user มากกว่าหนึ่งรายแชร์รหัสของ ID เดียวกัน
3. ปัญหาด้านการตรวจสอบ (inspect challenge)
- ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ID สิทธิพิเศษถูกใช้งานเมื่อใด โดยใคร และเพื่อวัตถุประสงค์ใด
- การจับคู่ระหว่างบันทึกการเข้าถึง (log) กับข้อมูลในระบบต่างๆ ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างสูง
- ไม่สามารถยืนยันรายละเอียดของการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต (unauthorized access)
Compliance/Cost Reduction
Privileged ID Controls and Key Tasks ทำงานอย่างไร
Automated tools ในปัจจุบัน ที่ถูกนำมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จะทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิทธิการเข้าถึงโดยอัตโนมัติ (privileged access management) ทำให้งานการตอบกลับหรือ response ทั้งหลาย เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น จับคู่บันทึกการเข้าถึง จับคู่ฟอร์มการสมัครขออนุมัติ ID พิเศษ และงานจัดการ ID พิเศษ ด้านอื่นๆ คุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยลดงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน privileged access management ของฝั่งไอทีในการดูแลระบบส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเข้าถึงพิเศษ ทั้งนี้ สามารถแยกให้เห็นการที่ tools จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือการทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ โดยแยกตามระดับการดำเนินงานทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการบริหารจัดการ (Manage) : แสดงภาพสิทธิ รหัสพิเศษ และผู้ใช้พิเศษ
- จัดทำ Inventory ของ ID สิทธิพิเศษ รายชื่อผู้ใช้พิเศษ และรายการสิทธิพิเศษ
- เปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ หรือเป็นครั้งคราว
- การตรวจจับการฉ้อโกง โดยการตรวจสอบการจับคู่ ID matching
2. ด้านการให้สิทธิ (Grant) : ให้สิทธิการเข้าถึงชั่วคราวตามการอนุมัติ
- ให้สิทธิการเข้าถึงพิเศษ (grant ID)
- ยกเลิกสิทธิการเข้าถึงพิเศษ (revoke ID)
3. ด้านตรวจสอบ (Inspect) : การรวบรวมบันทึกการเข้าถึงจากเป้าหมายและตรวจสอบได้
- บันทึก log ด้านงาน operation บันทึกการสมัครและการอนุมัติ ID พิเศษ
- รวบรวม log การ access
- รวบรวม log ด้านงาน operation
การป้องกันการฉ้อโกงโดยผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษและการดำเนินการตามมาตรการต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ช่องโหว่ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการด้าน Privileged ID มีความปลอดภัยไม่มากพอ จึงทำให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือระบบงาน และก่อให้เกิดผลเสียหายมหาศาลต่อองค์กรได้
ในบทความหน้า เราจะแนะนำโซลูชั่นระบบบริหารจัดการรหัสผ่านและบริหารเซสชั่นการใช้งาน (Privileged Access Management) สำหรับผู้ดูแลระบบกันต่อค่ะ
เขียนโดย : Kanitha
วันที่เผยแพร่ : 11 ก.ย. 2566